เพื่อน ๆ ที่ได้รายรับหลักเป็นเงินเดือน ย่อมต้องคุ้นเคยกับการที่ต้องเตรียมยื่นภาษี ภงด. 90 และ 91 กันเป็นอย่างดี บางครั้งอาจจะไม่ค่อยได้ทำความเข้าใจการคิดค่าภาษี และนำเอาภาระนี้มอบให้กับทางฝ่ายบัญชี หรือฝ่ายทรัพยากรบุคคลของบริษัทฯ เป็นผู้ดูแล เพื่อน ๆ ทราบไหมว่า การที่เราได้มาทำความรู้จักวิธีการคำนวณ และการวางแผนภาษี จะทำให้เราบริหารการเงินเราได้อย่างฉลาด และทำให้เราไม่เสียประโยชน์จากรายได้ที่นำมาชำระค่าภาษี อีกทั้งบางครั้ง เพื่อน ๆ อาจจะสามารถได้เงินภาษีคืนไปทำการซื้อของก้อนใหญ่เป็นรางวัลการทำงานของเราได้จากการมาใส่ใจดูแลเรื่องภาษีของเรา เช่น ถ้าเราได้เงินคืนมาจากสรรพากรซัก 50,000 บาท โดยการหักลดหย่อนภาษี เราก็สามารถนำเงินก้อนนี้ไปทำประโยชน์ได้เพิ่ม จะซื้อกองทุนรวม จะไปดาวน์รถคันใหม่ หรือจะเอาเก็บเป็นเงินเก็บได้อีก ถ้าได้มารวม 5 ปี ก็ประหยัดเงินเราได้ตั้ง 250,000 บาท 10 ปี ก็เป็นเงินก้อนใหญ่ 500,000 บาท น่าทึ่งไหมล่ะ และเป็นเรื่องที่ทุกท่านทำเองได้จริง ๆ จากการวางแผนภาษีเงินได้ให้ถูกต้อง
เพราะ “ภาษี” เป็นค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนประเภทหนึ่งของคนที่อยู่ในวัยทำงาน การวางแผนอย่างฉลาดในการบริหารจัดการ สามารถแปลงค่าใช้จ่ายภาษีให้เป็นทรัพย์สินที่ให้ดอกผลงอกเงยได้ ทำให้เราเดินทางใกล้ และไปสู่เป้าหมายทางการเงิน อีกทั้งยังสามารถใช้สิทธิประโยชน์ที่รัฐมอบให้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การได้รับยกเว้นภาษี การใช้สิทธิขอลดหย่อนภาษี การขอใช้สิทธิเครดิตภาษีคืน เป็นต้น
ประโยชน์ของการวางแผนการด้านภาษี มีอยู่หลายประการ
ลดภาระภาษีที่ต้องจ่าย โดยชำระภาษีเท่าที่จำเป็นตามกฎหมายกำหนด
ลดความเสี่ยงเรื่องการกระทำผิดกฎหมายภาษี ที่อาจทำให้ท่านต้องเสียเบี้ยปรับเพิ่ม
ลดความกังวลเรื่องการถูกตรวจสอบเอกสารภาษีย้อนหลัง
ที่สำคัญ เราสามารถขอภาษีที่เสียเกินไปคืนกลับมาได้อย่างมั่นใจ
ในการภาษีเพื่อช่วยสร้างความมั่นคงทางการเงิน เราสามารถดำเนินการได้ 3 ขั้นตอนดังนี้
- ศึกษาและเริ่มวางแผนภาษีตั้งแต่ต้นปี โดยท่านควรหมั่นติดตามข่าวสารด้านสิทธิประโยชน์ทางภาษีอย่างสม่ำเสมอ ดูแลจัดเก็บเอกสารเพื่อการลดหย่อนภาษีอย่างมีระเบียบ และในระหว่างปี ก็หมั่นปรับปรุงและประเมินแผนภาษีที่ทำให้เป็นแผนปัจจุบันเสมอ เช่น ถ้ารายได้ท่านมากขึ้นจาก โบนัสพิเศษ ก็นำมานับเป็นรายได้รวมทั้งปี เพื่อทำการวางแผนการลดหย่อนภาษีให้ได้อย่างเต็มที่ หรือบางท่านที่เกิดถูกวิกฤติการเลิกจ้างงาน ก็ต้องเตรียมพร้อมเสมอว่า ควรจะต้องเตรียมการเพื่อทำให้ได้รับเอกสารจากทางนายจ้างเพื่อนำมาแนบการยื่นภาษีเพื่อทำการยกเว้นรายรับพิเศษนี้ จากการต้องนำมาคำนวณภาษี
- รู้แหล่งที่มาของเงินได้ตัวเอง ว่ามีเงินได้มาจากที่ใดบ้างที่ถือเป็นเงินได้พึงประเมินที่ต้องนำมาคำนวณภาษี โดยปกติ รายได้ของมนุษย์เงินเดือน มักจะมาจากเงินเดือน โบนัส ค่าจ้างจากตำแหน่งหน้าที่ นอกเหนือจากนั้นอาจมาจากรายได้แหล่งอื่น ๆ เช่น รายได้จากการลงทุนในรูปแบบดอกเบี้ยเงินฝาก เงินปันผล กำไรจากการขายหลักทรัพย์ แต่ละประเภทนี้ กฎหมายกำหนดให้สิทธิประโยชน์และรูปแบบในการได้รับยกเว้นภาษีหรือการหักค่าใช้จ่าย เพื่อประเมินเป็นเงินได้ที่ต้องนำมาเสียภาษีแตกต่างกัน
- รู้จักกันค่าใช้จ่ายหรือค่าลดหย่อนที่สามารถนำมาหักจากเงินได้ที่ต้องเสียภาษี เช่น ค่าลดหย่อนเพื่อดูแลบุตร บิดา มารดา และที่สำคัญก็คือเงินได้พึงประเมินในส่วนที่เกี่ยวกับการออมและการลงทุน เพราะเป็นการช่วยเพิ่มความมั่นคงทางการเงิน เป็นการเพิ่มเงินออมไว้ใช้ในยามเกษียณ ทำให้มีชีวิตที่มีความสุขเพราะมีเงินเก็บหลังเกษียณอายุไว้ใช้ ทำให้มีชีวิตสุขสบาย ไม่ลำบากในอนาคต
การวางแผนภาษีโดยการลงทุน
โดยทั่วไป รัฐบาลจะใช้มาตรการทางภาษีเป้นเครื่องมือในการส่งเสริม หรือกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อส่งเสริมการออมในภาคประชาชน การระดมเงินทุนภายในประเทศ การสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมการเป็นเจ้าของธุรกิจและอุตสาหกรรม เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนตื่นตัว เช่นการส่งเสริมการลงทุนผ่านกองทุนรวมหุ้น (LTF) หรือกองทุนเพื่อการเกษ๊ยณอายุ (RMF)
ด้วยเหตุนี้ รัฐจึงมอบสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่หลากหลายแก่ผู้มีเงินออม และสนใจลงทุน ผ่านมาตรการการยกเว้นภาษี การลดหย่อนภาษีในหลากหลายวิธีการ
รายได้ที่ได้รับการยกเว้นไม่เสียภาษี
- ดอกเบี้ยพันธบัตรออมทรัพย์ของรัฐบาลรุ่นที่กำหนด
- ดอกเบี้ยจากการฝากออมทรัพย์พิเศษแบบปลอดภาษี
- ดอกเบี้ยเงินฝากสหกรณ์ประเภทออมทรัพย์
- ดอกเบี้ยและรางวัลจากสลากออมสิน หรือสลาก ธกส. ซึ่งรัฐยกเว้นให้เพื่อส่งเสริมการออมในภาคประชาชน ผลตอบแทนที่ได้รับจึงเต็มเม็ดเต็มหน่วยและมีความเสี่ยงต่ำ
- กำไรจากการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ (ยกเว้นหุ้นกู้และพันธบัตร)
- กำไรจากการขายตราสารอนุพันธ์
- กำไรจากการขายหน่วยลงทุนกองทุนรวม เนื่องจากรัฐต้องการส่งเสริมการลงทุน เปิดโอกาสให้ประขาชนได้มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกิจการ ส่งเสริมให้ประชาขนได้มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกิจการขนาดใหญ่ และส่งเสริมให้กิจการมีแหล่งระดมเงินทุนต้นทุนต่ำ ช่วยให้เกิดการจ้างงาน เพิ่มความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
สรุปสิทธิประโยชน์ทางภาษีการออมและการลงทุนที่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษี ได้แก่
- ประกันชีวิต สามารถนำค่าเบี้ยประกันชีวิตมาลดหย่อนได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท
ในการทำความคุ้มครองชีวิตนี้เป็นการทำประโยชน์ให้กับผู้เอาประกันถึงหลายประการ
- ต้องเป็นโครงการที่มีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 10 ปี
- ผู้ที่เริ่มสัญญาตั้งแต่ปี 2552 สามารถนำค่าเบี้ยประกันมาลดหย่อนภาษีได้เฉพาะเบี้ยหลักเท่านั้น
- คุ้มครองชีวิต
- คุ้มครองรายได้
- เป็นแผนการออมระยะยาว เพื่อการเกษียณอายุ ไม่ต้องพึ่งลูกหลานยามชรา
- เป็นการเก็บเงินออมอย่างมีวินัย เพราะเป็นการเก็บออมระยะยาว
- ผลตอบแทนไม่มีวันขาดทุนเพราะเป็นการวางแผนให้ผู้ออมเงินว่าจะได้รับผลตอบแทนในอนาคตเป็นจำนวนเงินเท่าไหร่
- กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF หรือ Retirement Mutual Fund) และ กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF หรือ Long Term Equity Fund) มีเงื่อนไขที่แตกต่างกันดังนี้
เหตุผลที่ทางรัฐให้สิทธิลดหย่อนภาษีเนื่องจาก
- ผู้ลงทุนใน RMF จะสามารถนำเงินลงทุนนี้ไปลดหย่อนภาษีจำนวนไม่เกิน 15% ของรายได้ โดยเมื่อรวมกับเงินสะสมของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการแล้ว ต้องไมเกิน 500.000 บาท เช่น ถ้ามีเงินได้รวมทั้งปีอยู่ 1.2 ล้านบาท แต่ทางบริษัทมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือที่เรียกกันว่า provident fund ทั้งปี อยู่ที่ 200,000 บาท ส่วนที่สามารถลงทุนใน RMF คือ 15% ของ 1 ล้านบาทคือ 150,000 บาท
- ผู้ที่ลงทุนใน LTF จะสามารถนำเงินลงทุนนี้ไปหักลดหย่อนภาษีจำนวนไม่เกิน 15% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
แต่อย่าลืมว่า การลงทุนทุกประเภทมีความเสี่ยง เราจึงต้องศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุนให้ดี เพราะถ้าเราคิดแต่เพียงได้ผลประโยชน์การลดหย่อนด้านภาษีอย่างเดียวแล้วลงทุนโดยไม่ศึกษา เราก็อาจจะขาดทุนได้ และบางครั้งอาจจะขาดทุนกว่าผลประโยชน์ที่ได้จากการยกเว้นภาษีอีก
- รัฐมีวัตถุประสงค์ต้องการให้ประชาชนเก็บออมและรู้จักการลงทุนในระยะยาว
- มีแรงจูงใจให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีควบคู่กับการได้รับผลตอบแทนการลงทุน
- เงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) สามารถหักลดหย่อนจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
- ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมซื้อที่อยู่อาศัย หักลดหย่อนได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท
- การบริจาคเพื่อการกุศล สามารถนำมาลดหย่อนได้ตามจริง แต่ถ้าเป็นการบริจาคเพื่อการสนับสนุนการศึกษา หักลดหย่อนได้ 2 เท่า เงินสนับสนุนการกีฬา สามารถลดหย่อนได้ 1.5 เท่า โดยใช้ใบอนุโมทนาหรือใบเสร็จรับเงินที่ระบุว่าใช้ลดหย่อนภาษีได้เป็นหลักฐานแนบกับการยื่นแบบ
- เครดิตภาษีจากเงินปันผลที่ได้รับจากการลงทุนในกิจการต่าง ๆ โดยทั่วไป รายได้จากเงินปันผลของเราจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 10% เราสามารถเลือกเสียภาษีเงินได้ เท่ากับจำนวนภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย โดยไม่ต้องนำเงินปันผลมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีก็ได้ แต่หากเราต้องการขอเครดิตภาษีเงินปันผล เราต้องนำเงินปันผลและเครดิตภาษีเงินปันผลมารวมคำนวณเป็นเงินได้พึงประเมินด้วย มีขั้นตอนที่ต้องคำนึงถึงคือ
- คำนวณจำนวนเงินเครดิตภาษีเงินปันผลที่จะได้รับ
- นำเอาเงินปันผลและเครดิตภาษีไปรวมคำนวณเป็นรายได้พึงประเมินด้วย
- หลังจากคำนวณรายได้ที่หักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนต่าง ๆ ก็จะได้รายได้สุทธิที่จะนำไปคำนวณหาภาษีที่ต้องชำระตามอัตราก้าวหน้า
- เมื่อทราบตัวเลขภาษีที่ต้องชำระตามอัตราก้าวหน้าแล้ว ก็นำเครดิตภาษีเงินปันผลและภาษีหัก ณ ที่จ่ายของเงินปันผล (10% ของเงินปันผล) มาหักออกจากภาษีที่ต้องชำระตามอัตราก้าวหน้า
รายการ
|
สิทธิประโยชน์
|
|
ได้รับการยกเว้นภาษี
|
|
ได้รับการยกเว้นภาษี
|
ประกันชีวิต
|
หักลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000 บาท
|
การลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund : RMF)
|
หักลดหย่อนได้ไม่เกิน 15% ของเงินได้ โดยเมื่อรวม กับเงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแล้วไม่เกิน 500,000 บาท
|
กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (Long Term Equity Fund : LTF)
|
หักลดหย่อนได้ไม่เกิน 15% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
|
เงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
|
หักลดหย่อนได้ไม่เกิน 500,000 บาท
|
ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมซื้อที่อยู่อาศัย
|
หักลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000 บาท
|
เงินปันผลจากกิจการ
|
ได้รับสิทธิขอเครดิตภาษ๊
|
เปรียบเทียบการเสียภาษี ก่อน และหลังการวางแผนภาษี
รายการ ก่อนวางแผนภาษี หลังวางแผนภาษี เงินได้ (เงินเดือน โบนัส และเงินได้อื่นจากตำแหน่งที่ทำ) 2,000,000 2,000,000 ดอกเบี้ยรับจากพันธบัตรรัฐบาลรุ่นปลอดภาษีจำนวน 14,250 บาท ได้รับการยกเว้นภาษี ได้รับการยกเว้นภาษี เงินปันผล ไม่นำมารวมคำนวณ ได้เสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายไว้แล้ว 10% 21,000 เครดิตภาษีเงินปันผล 9,000 บาท - 9,000 รวมเงินได้ (ก) 2,000,000 2,030,000 หัก ค่าใช้จ่าย 40% แต่ไม่เกิน 60,000 บาท 60,000 60,000 หัก ค่าลดหย่อนส่วนตัว บิดา มารดา 90,000 90,000 หัก เงินสมทบสำหรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ตามจริงไม่เกิน 500,000 บาท) 200,000 200,000 หัก เบี้ยประกันชีวิต (ตามจริง ไม่เกิน 100,000 บาท) 100,000 หัก ค่าดอกเบี้ยเงินกู้ซื้อบ้าน (ตามจริง ไม่เกิน 100,000 บาท) 100,000 หัก ลงทุนซื้อหน่วยลงทุนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ๖(RMF) ไม่เกิน 15% ของเงินได้ เมื่อรวมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแล้วไม่เกิน 500,000 บาท 300,000 หัก ลงทุนซื้อหน่วยลงทุนหุ้นระยะยาว (LTF) ไม่เกิน 15% ของเงินได้และไม่เกิน 500,000 บาท 304,050 (15% x 2,030,000) หัก เงินบริจาคให้กับสถานศึกษาที่กระทรวงศึกษาฯ กำหนด (หักได้ 2 เท่า ของเงินบริจาค แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและลดหย่อน 50,000(ยอดบริจาคจริง 25,000 บาท) รวมค่าใช้จ่าย และค่าหักลดหย่อน (ข) 350,000 1,204,500 เงินได้สุทธิ (ก-ข) 1,650,000 825,500 ภาษีที่ต้องชำระตามอัตราก้าวหน้า (ดูจากอัตราคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภงด. 90, 91 330,000 100,100 หักภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เงินปันผล 2,100 หัก เครดิตภาษีเงินปันผล 2,000 ภาษีเงินได้ ที่ต้องเสียให้กับกรมสรรพากร 330,000 89,000
หลังจากวางแผนภาษี ประหยัดภาษีได้ 330,000 – 89,000 = 241,000 บาท
อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
เงินได้สุทธิ (บาท) อัตราภาษี ร้อยละ ภาษีสูงสุดแต่ละขั้น ภาษีที่ต้องชำระตามอัตราก้าวหน้า ก่อนวางแผนภาษี (เงินได้สุทธิ = 1,650,000) หลังวางแผนภาษี (เงินได้สุทธิ = 805,500) 0 – 150,000 0 0 0 0 150,001 – 500,000 10 35,000 35,000 35,000 1,000,001 – 4,000,000 30 900,000 650,000×30% = 195,000 4,000,001 ขึ้นไป 37 รวม 330,000 100,100
จากตัวอย่างข้างต้น ถ้าคุณมีการวางแผนภาษีที่ดีแล้ว เราสามารถประหยัดภาษีได้ถึง 241,000 บาท
ถ้าเรานำเงินที่ประหยัดจากการลดหย่อนภาษี 241,000 บาทนี้ ไปลงทุนให้ได้รับผลตอบแทน 5% ต่อปี เป็นเวลา 1 ปี คุณจะได้รับผลตอบแทนเป็นเงิน 12,050 บาท เมื่อรวมกับเงินต้นแล้ว จะเพิ่มเป็น 253,050 บาท ถ้าประหยัดภาษีไปทุก ๆ ปี สมมติเป็นเวลา 10 ปี เงินจำนวนนี้ก็จะเพิ่มค่าไปประมาณ 430,000 บาท การประหยัดภาษีในรูปลักษณะเช่นนี้ เป็นการสะสมเงินออมไว้ใช้ในยามเกษียณได้อย่างสบาย ๆ
0 comments:
Post a Comment