สมมุติว่า
ท่านมีเงินเย็นเดือนละ 3000 บาท เอาไปฝากประจำดอก 3 %
แต่เฉลี่ยแล้วมูลค่าอัตรเงินเฟ้อต่อปี 4%
สมมุติท่านฝากประจำครบ 2 ปี หรือ 24 เดือนเท่ากับ
24 x 3000 = 72000
72000 x 0.03 = 2,160 บาท
รวมแล้ว 74,160 บาท
ลบอัตราเงินเฟ้อต่อปี 4%
74,160 x 0.04 = 2,966.4 บาท
74,160 - 2,966.4 = 71,193.6 บาท
กำไรสุทธิ 71,193.6 - 72000 = -806.4 บาท
นี่คือกำไรของท่านสุทธิที่ได้ในระยะเวลา 2 ปี เป็นมูลค่าเงินติดลบ -806.4 บาท
แปลว่าค่าเงินลดลง
แต่ถ้าท่านหากองทุนดีๆ สักกองทุนแล้วทยอยซื้อเดือนละ 3000
ผมขอคิดกำไรตาม YTD Return นะ เช่นซื้อกองทุนเปิดบัวแก้วปันผล อัตรา YTD อยู่ที่ 27% ผมขอตีเลขกลางๆ
แปลว่าครบ 2 ปีผ่านไปมูลค่า้เงินของท่านที่จะได้กำไรเ่ท่ากับ
72000 x 0.27 = 19,440 บาท
รวมแล้ว 91,440 บาท
ลบอัตราเงินเฟ้อต่อปี 4%
91,440 x 0.04 = 3,657.6 บาท
91,440 - 3,657.6 = 87,782.4
กำไรสุทธิ 87,782.4 - 72000 = 15,782.4 บาท
เป็นเพียงตัวเลขกลมๆ นะครับ อาจได้เยอะหว่านี้ตามอัตรการเติบโตของธุรกิจ
(YTD Return % หมายถึง Year-to-date Return หรือ ผลตอบแทนกองทุนนับตั้งแต่ต้นปีถึงวันที่เราเรียกข้อมูล)
ระยะเวลา 2 ปีเท่ากัน
ฝากประจำ ติดลบ -806.4 บาท
กองทุน กำไร 15,782.4 บาท
เป็นสมการที่คิดตามภาวะเงินเฟ้อนะครับ
ดังนั้นเมื่อออมเงินไดสักระยะหนึ่ง จึงควรหาแหล่งลงทุน
ช่วงที่ตลาดหุ้นร่วงตกต่ำ กองทุนหุ้นทุกกองผลประกอบติดลบกันทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นกองทุนมีปันผลหรือไม่มีปันผล
สำหรับคุณจขกท. ผมมองว่ามีความตั้งใจที่จะเก็บเงินทุกเดือนทดแทนเงินฝากออมทรัพย์และเงินฝากประจำ และเข้าใจว่าเงินก้อนนี้เป็นเงินเย็นไม่มีภาระต้องถอนมาใช้ อาจจะลองมองกองทุนอสังหาริมทรัพย์ เพราะผลตอบแทนที่ได้อยู่ราวๆ 7% และมีความผันผวนเรื่องราคาต่ำมาก โอกาสขาดทุนน้อย โอกาสไม่จ่ายปันผลก็น้อย
แต่ถ้ามองว่าเงินก้อนนี้สามารถที่จะรับความเสี่ยงได้ ยอมรับได้หากว่าจะขาดทุนถึง 25% ของเงินต้น ก็อาจจะมองกองทุนหุ้นได้
แต่ผมมองแบบนี้ เวลาที่เราต้องการสร้างฐานะ หรือบรรลุเป้าหมายอิสรภาพทางการเงิน ผมว่าเริ่มไปทีละขั้น
- ถ้ามีหนี้ ชำระหนี้ให้หมด (หมายถึงหนี้ใช้จ่าย หนี้บัตรเครดิต) ไม่ใช่หนี้กู้บ้านเพื่ออาศัย ซึ่งผมมองว่าเป็นหนี้ที่ดี
- เริ่มกันเงินออกมา ผมคิดว่าอย่างน้อยต้องได้ 20% ของรายได้เพื่อนำมาออมและลงทุน
- นำเงินที่กันออกมาไปฝากเงินออมทรัพย์หรือประจำก็ได้ ระยะแรกๆ อาจจะออมราว 75% และแบ่งออกมาราว 25% นำไปลงทุน
- เมื่อเงินออมในออมทรัพย์หรือประจำมีมูลค่า ราว 6 เดือนของค่าใช้จ่าย เปลี่ยนสัดส่วนเงินออมต่อเงินลงทุนเป็น 50%
- เมื่อเงินออมในออมทรัพย์หรือประจำมีมูลค่า ราว 12 เดือนของค่าใช้จ่าย เปลี่ยนสัดส่วนเป็นเงินลงทุนเป็น 75-100%
ส่วนเงินลงทุนนั้นก็ค่อยๆ พัฒนาตามระดับความเสี่ยงไป..ช่วงแรกอาจจะเป็นกองทุนตราสารหนี้ กองทุนพันธบัตร ถัดไปเป็นกองทุนอสังหา ถัดไปเป็นกองทุนหุ้นในประเทศ ถัดไปเป็นกองทุนหุ้นต่างประเทศ และกองทุนสินค้าโภคภัณฑ์ครับ..
อันนี้เป็นความเห็นส่วนตัว ไม่ได้อิงหลักวิชาการใด ผิดถูกอย่างไร ขออภัยล่วงหน้า
อ้างอิงจาก http://topicstock.pantip.com/sinthorn/topicstock/2012/07/I12412169/I12412169.html
Monday, October 8, 2012
ทำไมถึงควรลงทุน สำหรับคนมีเงินเย็น
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
Popular Posts
-
การตรวจสอบ Thyroid function test นั้น เป็นการทดสอบทางห้องปฏิบัติการที่ใช้บ่อย เนื่องจากโรคของต่อม thyroid ทำงานผิดปกติเป็นโรคที่พบบ่อย แต่อา...
-
SET หรือ The Stock Exchange of Thailand หรือ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เ...
-
ต้องลงทุนนานแค่ไหนถึงเอาเงินออกมาได้? - ต้องถือหน่วยลงทุนให้ครบ 5 ปีปฏิทิน (ไม่ว่าจะซื้อหรือขายวันไหนในปีนั้น จะนับปีนั้นเป็น 1 ปี) ยกตัวอ...
-
RMF ย่อมาจากคำว่า Retirement Mutual Fund หรือเรียกในชื่อไทยว่า “กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ” เป็นกองทุนรวมประเภทหนึ่ง (กองทุนรวม หมายถึงการน...
-
การพิจาณาให้วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและอิมมูโนโกลบูลิน 1. การประเมินภาวะเสี่ยงโรคจากการสัมผัส 1.1 ประวัติของการสัมผัส กลุ่มที่หนึ่...
-
ภงด.91 แบบการยื่นเสียภาษี สำหรับผู้มีรายได้ เป็น เงินเดือน อย่างเดียว (ยื่นเสียภาษี 1 ครั้งต่อปี) ภงด.90 แบบการยื่นเสียภาษี สำหรับผู้มีราย...
-
สมมุติว่า ท่านมีเงินเย็นเดือนละ 3000 บาท เอาไปฝากประจำดอก 3 % แต่เฉลี่ยแล้วมูลค่าอัตรเงินเฟ้อต่อปี 4% สมมุติท่านฝากประจำครบ 2 ปี หรือ 24 เดื...
-
เป็นวิธีการจากมาดากัสการ์ ศรีลังกา กัมพูชา สู่การทดลองครั้งสำคัญบนผืนนาไทย การปักเดี่ยว ซึ่งประหยัดเมล็ดพันธุ์ ช่วยให้ต้นข้าวแสดงศักย...
-
ประวัติความเป็นมา บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2531 เป็นบริษัทหลักในกลุ่มธุรกิจการตลาดและการจัดจำหน่ายของเครือเจร...
-
เพื่อน ๆ ที่ได้รายรับหลักเป็นเงินเดือน ย่อมต้องคุ้นเคยกับการที่ต้องเตรียมยื่นภาษี ภงด. 90 และ 91 กันเป็นอย่างดี บางครั้งอาจจะไม่ค...
0 comments:
Post a Comment