ต้องลงทุนนานแค่ไหนถึงเอาเงินออกมาได้?
- ต้องถือหน่วยลงทุนให้ครบ 5 ปีปฏิทิน (ไม่ว่าจะซื้อหรือขายวันไหนในปีนั้น จะนับปีนั้นเป็น 1 ปี)
ยกตัวอย่างเช่น
ถ้าเราซื้อ LTF วันที่ 25 ธันวาคม 2554 พอขึ้นปีใหม่ 1 มกราคม 2555 กองทุนจะนับว่าเราซื้อกองทุนมาครบ 1 ปี และกำลังเริ่มต้นลงทุนเป็นปีที่ 2
ดังนั้นเราจะสามารถขายได้เร็วที่สุดในวันที่ 1 มกราคม 2558
Buy@2554 2555 2556 2557 Sell@2558
สรุป ระยะเวลาสั้นสุดที่ลงทุนใน LTF = 3 ปี 2 วัน
ระยะเวลานานสุดที่ลงทุนใน LTF = 5 ปี
ปล. ถ้าหุ้นติดลบอยู่ เราจะยังไม่ขายก็ได้นะครับ ไม่มีใครบังคับเราได้
ลงทุนได้สูงสุดกี่บาท?
- เงินลงทุนใน LTF สามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 15% ของรายได้ในแต่ละปีแต่ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
ยกตัวอย่างเช่น
1. ปีนี้ นาย ก มีรายได้รวม 1,000,000 บาท และเสียภาษี 20%
นาย ก จะซื้อ LTF ได้สูงสุด 150,000 บาท
ซึ่งจะประหยัดภาษีถึง 150,000 x 20% = 30,000 บาท
2. ปีนี้ นาย ข มีรายได้รวม 10,000,000 บาท และเสียภาษี 30%
นาย ข จะซื้อ LTF ได้สูงสุด 500,000 บาท (เพราะ 15% ของรายได้เกิน 500,000 บาท)
ซึ่งจะประหยัดภาษีถึง 500,000 x 30% = 150,000 บาท
อยากประหยัดภาษี x บาท ต้องซื้อกองทุนกี่บาท?
- นำเงินภาษีที่อยากประหยัดมาหารด้วยเปอร์เซ็นต์ฐานภาษีของคุณ
ยกตัวอย่างเช่น
ถ้าปีนี้ นาย ก เสียภาษี 20% และเขาอยากประหยัดภาษี 10,000 บาท เขาจะต้องซื้อ LTF ปีนี้ ด้วยเงิน 10,000/20% = 50,000 บาท
ซื้อ LTF ยังไงให้คุ้มที่สุด?
สมมุติว่าคุณมีรายได้ 550,000 บาทต่อปี
จากตารางภาษี หมายความว่า
- เงิน 150,000 บาทแรกไม่ต้องเสียภาษี
- เงิน 350,000 บาทถัดมาเสียภาษี 10% คิดเป็นเงิน 35,000 บาท
- เงิน 50,000 บาทสุดท้ายต้องเสียภาษี 20% คิดเป็นเงิน 10,000 บาท
ถึงแม้ว่าคุณจะมีสิทธิ์ซื้อ LTF ได้ถึง 82,500 บาท (15% ของ 550,000 บาท) ซึ่งจะประหยัดภาษีได้ (50,000 x 20%) + (32,500 x 10%) = 13,250 บาท
หากคุณอยากจะประหยัดภาษีให้ได้คุ้มที่สุด คุณควรจะซื้อ LTF เพียง 50,000 บาท (พอดีกับเงินส่วนที่เสียภาษี 20% พอดี) ซึ่งคุณจะประหยัดภาษีได้ถึง 10,000 บาทเลยทีเดียว
ฟันธงกันไปเลย ควรซื้อเท่าไหร่ เมื่อไหร่ดี?
ผมจะตอบคำถามของคุณด้วยการถามพวกคุณกลับดังนี้ละกันครับ
CASE 1 หากคุณเสียภาษีในเรท 10% และต้องการซื้อ LTF
ถ้าคุณลงทุน LTF มา 3 ปีโดยที่ไม่ขาดทุนหรือกำไรเลยซักบาท ผลจากตารางด้านบนพบว่าการฝากดอกเบี้ยประจำทบต้น 3 ปี ก็จะให้ผลเช่นเดียวกัน ดังนั้นในกรณีแรกนี้ คุณจำเป็นต้องมานั่งลุ้นครับว่ากองทุน LTF ของคุณจะทำกำไรได้มั้ยใน 3 ปีข้างหน้านับจากนี้ เป็นผมจะเอาเงินไปฝากประจำยังดีกว่าครับ (พันธบัตร กับหุ้นปันผล ยิ่งดีกว่าหลายเท่าครับ)
CASE 2 หากคุณเสียภาษีในเรท 20% และต้องการซื้อ LTF
ถ้าคุณลงทุน LTF มา 3 ปีโดยที่ไม่ขาดทุนหรือกำไรเลยซักบาท ผลจากตารางด้านบนพบว่า คุณจะได้กำไรมากกว่าการเอาเงินไปฝากประจำถึง 10% ทีเดียวครับ ดังนั้นถ้าคุณเป็นคนที่ไม่ชอบเสี่ยง และชอบฝากประจำเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ผมขอแนะนำให้คุณซื้อได้เลยครับ (ถ้าเสียภาษีสองเรท ควรใช้เงินที่ต้องเสียภาษี 20% ไปซื้อก็พอนะครับ ส่วนที่เสีย 10% ไม่ต้องไปซื้อให้ขาดทุนครับ)
CASE 3 หากคุณเสียภาษีในเรท 30-37% และต้องการซื้อ LTF
ถ้าคุณลงทุน LTF มา 3 ปีโดยที่ไม่ขาดทุนหรือกำไรเลยซักบาท ผลจากตารางด้านบนพบว่า คุณจะได้กำไรมากกว่าการเอาเงินไปซื้อพันธบัตรถึง 14-20%!! (ไม่ธรรมดานะครับ) ดังนั้นถ้าคุณคิดจะเอาเงินไปซื้อพันธบัตร ลองหันมามอง LTF ดูก่อนตัดสินใจซักหน่อยจะดีกว่าครับ
อย่าลืมนะครับว่า ที่ผมร่ายมาซะยาวนี่ ยังไม่รวมกำไรที่จะได้จากราคาที่เพิ่มขึ้นของกองทุนนะครับ
สุดท้ายนี้ หลังจากพวกคุณได้อ่านบทความนี้จบ ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหากในอนาคต คุณมีโอกาสเข้าซื้อกองทุนในราคาถูกๆ (หลังจากตลาดหุ้นตกหนักๆ) มารอคุณอยู่ตรงหน้า อย่ารีรอให้เนิ่นนานเกินไป แต่จงวิเคราะห์ถึงความคุ้มค่าในการลงทุน และจงตัดสินใจลงทุนอย่างเด็ดเดี่ยวครับ
โชคดีในการลงทุนทุกท่านครับ
อ้างอิงจาก http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=hopezz&month=26-12-2011&group=6&gblog=2
ตัวอย่างด้านบนคำนวนจากกรณีดอกเงินฝาก 3.5 แต่ปัจจุบันดอกเบี้ยน้อยกว่า 3.5 ดังนั้นหากลองคำนวนพบว่าให้ซื้อ LFT เต็มโควต้าได้เลย
ตารางเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยธนาคาร | |||||||||
อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก | อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ | ||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ออมทรัพย์ | ประจำ 3 เดือน | ประจำ 6 เดือน | ประจำ 12 เดือน | ประจำ 24 เดือน | ประจำ 36 เดือน | MRR | MOR | MLR | |
ธ. กรุงศรีอยุธยา จก. | 0.7500 | 2.0500 | 2.3500 | 2.7500 | 3.2000 | 3.2500 | 8.4500 | 7.7500 | 7.5000 |
เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ | 1 ต.ค. 55 | 1 ต.ค. 55 | 1 ต.ค. 55 | 1 ต.ค. 55 | 1 ต.ค. 55 | 1 ต.ค. 55 | 2 เม.ย. 55 | 2 เม.ย. 55 | 2 เม.ย. 55 |
ธ. กรุงเทพ จก. | 0.7500 | 1.8750 | 2.1250 | 2.5000 | 2.7500 | 3.0000 | 7.7500 | 7.2500 | 7.0000 |
เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ | 22 ต.ค. 55 | 22 ต.ค. 55 | 22 ต.ค. 55 | 22 ต.ค. 55 | 22 ต.ค. 55 | 22 ต.ค. 55 | 22 ต.ค. 55 | 22 ต.ค. 55 | 22 ต.ค. 55 |
ธ. ออมสิน | 1.0000 | 2.2500 | 2.5000 | 2.9000 | 8.0000 | 7.5000 | 7.2500 | ||
เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ | 15 ก.ย. 54 | 15 ก.ย. 54 | 15 ก.ย. 54 | 15 ก.ย. 54 | 15 ก.ย. 54 | 15 ก.ย. 54 | 15 ก.ย. 54 | ||
ธ. กสิกรไทย จก. | 0.7500 | 1.8000 | 2.2500 | 2.6500 | 3.0000 | 3.2000 | 8.1000 | 7.4800 | 7.1300 |
เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ | 19 ต.ค. 55 | 19 ต.ค. 55 | 19 ต.ค. 55 | 19 ต.ค. 55 | 19 ต.ค. 55 | 19 ต.ค. 55 | 22 ก.พ. 55 | 22 ก.พ. 55 | 22 ก.พ. 55 |
ธ. กรุงไทย จก. | 0.7500 | 2.0000 | 2.6000 | 2.7500 | 3.1250 | 3.2500 | 8.0000 | 7.3750 | 7.1250 |
เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ | 22 ต.ค. 55 | 22 ต.ค. 55 | 22 ต.ค. 55 | 22 ต.ค. 55 | 22 ต.ค. 55 | 17 ต.ค. 55 | 30 ม.ค. 55 | 30 ม.ค. 55 | 30 ม.ค. 55 |
ธ. ไทยพาณิชย์ จก. | 0.7500 | 1.7500 | 2.1500 | 2.5000 | 2.7500 | 2.7500 | 8.1000 | 7.4250 | 7.0000 |
เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ | 22 ต.ค. 55 | 22 ต.ค. 55 | 22 ต.ค. 55 | 22 ต.ค. 55 | 22 ต.ค. 55 | 22 ต.ค. 55 | 22 ต.ค. 55 | 22 ต.ค. 55 | 22 ต.ค. 55 |
ธ. ทหารไทย จก. | 0.1250 | 1.7500 | 2.0000 | 2.2500 | 2.7500 | 3.0000 | 8.2750 | 7.9000 | 7.5000 |
เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ | 10 ต.ค. 55 | 10 ต.ค. 55 | 10 ต.ค. 55 | 10 ต.ค. 55 | 10 ต.ค. 55 | 10 ต.ค. 55 | 27 ก.ย. 55 | 27 ก.ย. 55 | 27 ก.ย. 55 |
ธ. ยูโอบี จก. | 0.6500 | 1.9500 | 2.2500 | 2.5000 | 2.7500 | 2.7500 | 8.5000 | 8.2500 | 7.7500 |
เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ | 17 ก.ย. 55 | 17 ก.ย. 55 | 17 ก.ย. 55 | 17 ก.ย. 55 | 17 ก.ย. 55 | 17 ก.ย. 55 | 23 ก.ค. 55 | 23 ก.ค. 55 | 23 ก.ค. 55 |
หมายเหตุ | |||||||||
อ้างอิงจาก http://www.thaibond.com/bond_info/bankrate.aspx นอกจากนี้สามารถดูอัตราดอกเบี้ยได้จาก http://www.bot.or.th/thai/statistics/financialmarkets/interestrate/_layouts/application/interest_rate/IN_Rate.aspx# |
ขอบคุณค่ะ
ReplyDeleteมาอ่านเพื่อแน่ในอีกที พอดีปีหน้าจะครบขายแล้วอิอิ ซื้ิอ 2553 ขาย2557 ถูกต้องใช่มั๊ยคะ