Wednesday, September 19, 2012

ภาวะน้ำคร่ำอุดตันในกระแสเลือด

ภาวะน้ำคร่ำอุดตันในกระแสเลือด  หรือภาวะน้ำคร่ำอุดกั้นปอด (Amniotic fluid embolism syndrome)

                การตั้งครรถ์เป็นความคาดหวังของครอบครัวเพื่อให้ครอบครัวสมบูรณ์ โดยมีเจ้าตัวน้อยมาเป็นพยานรัก แต่ใครจะรู้กันว่าในการตั้งครรถ์ก็มีความเสี่ยง ซึ่งในวันนี้จะแนะนำท่านผู้อ่านถึง ภาวะน้ำคร่ำอุดตันในกระแสเลือด หรือ ภาวะน้ำคร่ำอุดตันปอด โรคนี้มีความสำคัญอย่างไร ซึ่งท่านผู้อ่านหลายท่านอาจเคยได้ยิน ข่าวทางทีวีหรือวิทยุกล่าวถึง แต่เคยทราบหรือไม่ว่าเกิดขึ้นได้ยังไง และจะป้องกันได้ยังไง ความรุนแรงของโรคมากน้อยแค่ไหน โรคนี้คือโรคที่เกิดขึ้นได้น้อยมาก แต่ความรุนแรงของโรคสูงซึ่งโรคนี้เกิดจากอะไรนั้นเรามาดูกัน

ภาวะน้ำคร่ำอุดกั้นปอด เกิดจากอะไร
                แต่เดิมหลังจากแม่เสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุ ได้นำศพแม่ไปผ่าชันสูตร พบว่าปอดแม่มีชิ้นส่วนของเด็กอยู่ในเส้นเลือดปอด ดังนั้นแต่เดิมจึงคิดว่าเกิดจากการอุดตันของชิ้นส่วนลูกในเส้นเลือดปอดของแม่  แต่ปัจจุบันพบว่ามีอาการหลายอย่างที่ไม่สามารถอธิบายได้ด้วย เช่นอาการทางระบบประสาท อาการเลือดไหลไม่หยุด
ปัจจุบัน คาดว่า อาการของโรคน้ำคร่ำอุดกั้นปอดเกิดจากการกระตุ้นอาการแพ้อย่างรุนแรงจากการกระตุ้นของ ชิ้นส่วนของทารกในครรถ์ หรือน้ำคร่ำ แต่ในปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานที่สามารถพิสูจน์ได้ว่ากระตุ้นผ่านกลไกใด

ภาวะน้ำคร่ำอุดกั้นปอด เจอได้บ่อยแค่ไหน
                ตามอุบัติการณ์การเกิดพบได้ประมาณ หนึ่งในแปดพัน ถึงหนึ่งไปแปดหมื่นของการคลอด

ภาวะน้ำคร่ำอุดกั้นปอด  มีความรุนแรงของโรคมากน้อยเพียงใด
                6 ใน10 รายจะเสียชีวิต

3 รายพิการทางสมอง หรือเป็นเจ้าหญิงนิทรา

และมี 1 จาก10 รายเท่านั้น ที่รอดเป็นปกติ

การทำนายโรคการเกิดภาวะน้ำคร่ำอุดกั้นปอด
                เป็นโรคที่คาดการณ์ไม่ได้ว่าจะเกิดเมื่อไหร่

การป้องกัน ภาวะน้ำคร่ำอุดกั้นปอด
                โรคนี้ยังไม่สามารถป้องกันได้เพราะเรายังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ดังนั้นหากตั้งครรถ์การฝากครรภ์อย่างสม่ำเสมอจะลดความเสี่ยงได้ระดับหนึ่ง แต่ไม่สามารถป้องกันโรคได้

ภาวะน้ำคร่ำอุดกั้นปอด  หากเกิดโรครักษาได้ไหม
                ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาที่เฉพาะเจาะจง ดังนั้นจะเห็นได้ว่ามักพบข่าวที่มีการเสียชีวิตด้วยโรคนี้เป็นระยะตามข่าว ทีวีหรือหนังสือพิมพ์ โรคนี้แม้จะตรวจเจอแม้จะอยู่ในโรงพยาบาลที่พร้อมที่สุด หรืออยู่ในมือสูติแพทย์โอกาสรอดประมาณหนึ่งในสิบรายเท่า โดยหากเกิดขึ้นแพทย์จะทำการแก้ไขภาวะความดันโลหิตต่ำและขาดออกซิเจนในเลือด ลดภาวะขาดออกซิเจนทำให้มีการขนส่งออกซิเจนสู่ลูกในหญิงที่ยังไม่คลอด

การวินิจฉัยโรคน้ำคร่ำอุดตันในปอด หรือน้ำคร่ำอุดตันในหลอดเลือด
 พิสูจน์ด้วยผลการผ่าชันสูตรชิ้นเนื้อเป็นมาตรฐาน เพื่อวินิจฉัยแยกจากโรคอื่นๆที่อาจเกิดการเสียชีวิตในลักษณะเดียวกัน ซึ่งทำหลังจากเสียชีวิตแล้ว

1 comment:

Popular Posts