Monday, October 8, 2012

การแปลผล การทดสอบการทำงานของต่อมไทรอยด์ (Thyroid function test)

การตรวจสอบ Thyroid function test นั้น เป็นการทดสอบทางห้องปฏิบัติการที่ใช้บ่อย เนื่องจากโรคของต่อม thyroid ทำงานผิดปกติเป็นโรคที่พบบ่อย แต่อาการ และอาการแสดงของภาวะ thyriod ทำงานผิดปกตินั้นเป็นอาการที่ไม่เฉพาะ เจาะจง เช่น

  • Hyperthyroidism มีอาการ  เหนื่อยง่าย ใจสั่น น้ำหนักลดลง เหงื่อออกง่าย หงุดหงิด ซึ่งอาการเหล่านี้อาจจะพบได้ในภาวะ hypermetabolic state  อื่น เช่น pheochromocytoma , สตรีตั้งครรภ์และในผู้ป่วย anxiety neurosis เป็นต้น    
  • Hypothyroidism มีอาการ  เชื่องช้า ซึม ผิวหนังแห้ง บวม ท้องผูก ซึ่งอาจจะพบได้ในผู้สูงอายุ โรคไต และคนอ้วน เป็นต้น
        ดังนั้นการตรวจทางห้องปฏิบัติการจึงมีความจำเป็นเพื่อที่จะเป็นการสนับสนุนการวินิจฉัยภาวะผิดปกติของต่อม thyroid การวินิจฉัยผิดพลาดทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ไม่ถูกต้อง และเป็นผลให้อาการโรคเป็นมากขึ้น
     ในอดีตการตรวจหน้าที่ของต่อมthyroid ใช้วิธีการตรวจหา basal metabolic rate (BMR), protein bound iodine (PBI)  และ radioiodine uptake ซึ่งทำยุ่งยาก และมีข้อผิดพลาดมาก 

การทดสอบ thyroid function test ในปัจจุบัน
      ในปัจจุบันการตราจ thyroid function test ได้แก่ total T4(thyroxine) , total T3(Triiodothyronine), Free T4, Free T3 และ TSH(thyroid stimulating hormone)  ซึ่งเราสามารถแบ่งการทดสอบได้ดังนี้
1. Total thyroid hormone  การวัดระดับ total T4, total T3 ใช้การวัดระดับโดยวิธี radioimmunoassay (RIA), enzyme immunoassay(EIA) , immunochemiluminometric asssay (ICMA)  และ electrochemiluminescence(ECL) ค่า T4,T3 ที่วัดนั้นมีค่าผิดพลาดในกรณีที่มี thyroid binding protein ผิดปกติ
            T4 ส่วนใหญ่จับกับ thyroxine-binding protein  ได้แก่ thyroxine-binding globulin(TBG), thyroxine-binding prealbumin(TBPA) หรืออาจจะจับกับ transthyretin และ albumin มีเพียง 0.3% เท่านั้น ที่อยู่ในรูป free form
            ในกรณีที่ TBG สูง   ทำให้ระดับ total T4 และ total T3 มีค่าสูงกว่าปกติ  ในขณะที่ถ้า TBG ต่ำกว่าปกติก็จะทำให้ ระดับของ total T4 และ total T3 มีค่าต่ำกว่าปกติด้วย
                   
สาเหตุที่ทำให้ภาวะ  TBG ผิดปกติ
ภาวะ TBG ต่ำกว่าปกติ
ภาวะ TBG สูงกว่าปกติ
 - ได้รับยาฮอร์โมนเพศ
- โรคตับเรื้อรัง
- Acromegaly ที่ยัง active อยู่
- ภาวะเจ็บป่วยทาง systemic
- ภาวะโปรตีนในเลือดต่ำ
- โรคไตเรื้อรัง
- ได้รับยา glucocorticoid
กรรมพันธุ์
 - ภาวะตั้งครรภ์
- ได้รับยาเม็ดคุมกำเหนิด
- Chronic active hepatitis
- Acute intermitten porphyria
- ผู้ป่วยเอดส์
- มะเร็งปอดชนิด oat cell
- กรรมพันธุ์

2. Free thyroid hormone ในภาวะที่มี TBG ผิดปกติ  การใช้ free thyroid hormone สามารถที่จะบอกถึงระดับฮอร์โมนที่ถูกต้องได้ดีกว่า total form
3. การวัดระดับของ TSH   TSH ใช้ในการวินิจฉัยความผิดปกติของต่อม thyroid เป็นเวลานาน  ระดับของ TSH จะมีค่าสูงในภาวะ  primary hypothyroidism  ต่อมาเมื่อการวัดระดับของ TSH มีความไวมากยิ่งขึ้น จึงนำมาใช้ในการวินิจฉัยภาวะ hyperthyroidism ได้ด้วยซึ่งพบว่ามีค่าต่ำ
กลไกการควบคุมการหลั่ง thyroid hormone
      ปกติการทำงานของต่อม thyroid ตั้งแต่การสร้างตลอดจนถึงการหลั่งฮอร์โมนถูกควบคุมโดยฮอร์โมนTRH และ TSH     โดยไฮโปทาลามัสจะหลั่ง TRH มากระตุ้นต่อมใต้สมองส่วนหน้าให้หลั่ง TSH  ไปกระตุ้นต่อม thyroid ให้หลั่ง T4 และ T3   เมื่อ T4 และ T3 มีระดับเพียงพอก็จะกลไกป้อนกลับ(feedback) ยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้าและไฮโปทาลามัส
การขนส่งและเมตาบอริสมของ thyroid hormone
      T4 และ T3  ในร่างกายส่วนใหญ่ เป็น extra-thyroidal  มันจะอยู่ในรูปของ bound form คือจะจับกับ specific binding protein ที่สำคัญ 2 ตัว คือ TBG และ TBPA       โดย TBG เป็น glycoprotein ที่มีน้ำหนักโมเลกุล 50,000 จะจับกับ T4 และ T3  ด้วย affinity ที่มากกว่า TBPA ถึง 100 เท่า   และสามารถจับกับพลาสม่าได้ถึง 20  ug/dl  ภายใต้สภาวะปกติ TBG  จะจับกับ  T4 และ T3 ในพลาสม่าเกือบทั้งหมดแบบ noncovalent

Total hormone
ug/dl
free hormone
half-life in
blood (days)
% of total
ng/dl
molarity
 
T4   =   8
0.003
2.24
3.0 x 10-11
6.5
 
T3  = 0.15
0.3
0.4
0.6x10-11
1.5

          การวัด TBG ทำให้ทราบถึงหน้าที่ของ thyroid hormone    เนื่องจากการหาค่าของ T3  และ T4  เป็นการหาปริมาณทั้งหมดในพลาม่ามากกว่าเป็นการหาฮอร์โมนอิสระ        TBG ถูกสร้างขึ้นในตับและการสร้าง TBG จะเพิ่มขึ้นในสภาวะที่ร่างกายมี estrogen สูง   เช่น ในขณะที่ตั้งครรภ์หรือในคนที่ได้รับยาคุมกำเหนิด   แต่ถ้าให้ฮอร์โมน androgen หรือ glucocorticoids         หรือในโรคตับบางชนิด  จะทำให้การสร้าง TBG  ลดลง   ภาวะเหล่านี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง T3 และ T4   โดยไม่เปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนอิสระ    มีสารประกอบหลายอย่าง  เช่น phenotoin และ salicylates   จะแย่ง  T4 และ T3   จับกับ TBG     การที่ระดับของปริมาณฮอร์โมนทั้งหมดลดลง  โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนอิสระนั้น  ต้องถูกนำมาพิจารณาให้ดีเมื่อมีการแปลผลในการทดสอบต่างๆ
             เนื่องจาก T3  จับกับ  thyroid recepters  บนเซลล์เป้าหมายด้วย  affinity ที่สูงกว่า  T4  ถึง 10 เท่า จึงถือว่า T3 เป็น active form ประมาณ 80 %  ของ T4  ถูกเปลี่ยนไปเป็น T3  หรือ reverse T3(rT3)   ในกระแสเลือด     rT3 เป็น agonist  ที่อ่อนมากจะถูกสร้างขึ้นมามากในภาวะที่เป็นโรคเรื้อรัง   เมื่อมีการขาดคาร์โบไฮเดรตและใน fetus

ความผิดปกติของต่อมธัยรอยด์มี  3  กลุ่ม  ได้แก่

  1.  Hypothyroidism      คือ  อาการผิดปกติของต่อม   ที่มีระดับฮอร์โมนของต่อมธัยรอยด์น้อยเกินไป  โรคที่พบบ่อยได้แก่  primary hypothyroidism ,  secondary hypothyroidism
  2.  Euthyroid    คือ  ต่อมธัยรอยด์ทำงานมากกว่าธรรมดา   ต่อมจึงใหญ่ขึ้น  จนเป็นคอพอก(goiter)   มักพบในสาวรุ่นหรือสตรีขณะตั้งครรภ์    เมื่อต่อมสร้างฮอร์โมนพอใช้งานแล้วก็จะทำงานลดลง     จึงไม่พบระดับฮอร์โมนผิดปกติ  เช่น  คอพอกธรรมดา (simple goiter)
  3.  Hyperthyroidism หรือ   thyrotoxicosis  คือ อาการผิดปกติของต่อมธัยรอยด์เป็นพิษที่เกิดจากมีฮอร์โมนของต่อมธัยรอยด์มากเกินไป  โรคที่พบบ่อยได้แก่  Graves' disease , multitoxic nodular goiter(Plummer's disease) 

ตัวอย่างการแปลผล thyroid function ที่ไม่ตรงไปตรงมา
อ้างอิงจาก http://www.medtechzone.com/knowledge/thyroid.php
                   http://www.phimaimedicine.org/2009/12/121-38-hyperthyroid-1.html

0 comments:

Post a Comment

Popular Posts