Monday, October 8, 2012

ภาษีเงินได้ของแพทย์



ภงด.91 แบบการยื่นเสียภาษี สำหรับผู้มีรายได้ เป็น เงินเดือน อย่างเดียว (ยื่นเสียภาษี 1 ครั้งต่อปี)

ภงด.90 แบบการยื่นเสียภาษี สำหรับผู้มีรายได้หลายแบบ เช่น เงินเดือน ค่าอยู่เวร เปิดคลินิก (ยื่นเสียภาษี 2 ครั้งต่อปี)


ส่วนเรื่อง 40 วงเล็บต่าง ๆ

40 (1) คือ ภาษีหมวดเงินเดือน หักค่าใช้จ่ายได้ 40 % แต่ไม่เกิน 60,000 บาท

40 (2) เป็นหมวดเงินตอบแทนอย่างค่าอยู่เวรเหมารายเวร รายชั่วโมง

40 (6) เป็นหมวดสำหรับการประกอบอาชีพอิสระ อย่างแพทย์จะหักค่าใช้จ่ายได้ 60%

หลักการคิดว่า วงเล็บไหน ก็คือ ถ้าเป็นเจ้าของกิจการ ต้องรับความเสี่ยงมากกว่า “รัฐ” จึงให้หักต้นทุน ได้มากกว่า

ตามมาตรา 40(6) ผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ (หักค่าใช้จ่ายได้ 60%) เนื่องจาก เป็นเจ้าของกิจการ ต้องรับความเสี่ยงมากกว่า จึงให้หักค่าใช้จ่ายได้มากกว่า แต่มาตรา 40(1) 40(2) ทำงานรับเงินจากรัฐ หรือ นายจ้าง ไม่ได้เป็นเจ้าของกิจการ ความเสี่ยงก็น้อยกว่า จึงหักค่าใช้จ่ายได้น้อยกว่า (หักค่าใช้จ่ายได้ 40 % แต่ไม่เกิน 60,000 บาท)

ใน รพ.เอกชน ตอนนี้ สรรพากร จะให้เป็น 40(1) , 40(2) ที่หักค่าใช้จ่ายได้ 40% เนื่องจาก ไม่ได้เป็นผู้ร่วมลงทุน ( ไม่ได้เป็นเจ้าของ) ยกเว้นทำเป็นหนังสือสัญญา เป็นลายลักษณ์อักษร แต่เนื่องจากการตีความของสรรพากรในแต่ละจังหวัดอาจไม่เหมือนกัน คงต้องสอบถามกับเพื่อนแพทย์ในจังหวัดเดียวกันด้วยว่าเสียภาษีอย่างไร


แนวทางการเสียภาษีจากการประกอบโรคศิลปะ
กรมสรรพากร หนังสือที่ กค 0811 (กม.) /03785 วันที่ 27 มีนาคม 2541

1. กรณีผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะ ทำงานในสถานพยาบาลของ รัฐ หรือ เอกชน โดยแพทย์มีกำหนดระยะเวลาปฏิบัติงานที่แน่นอน และมีรายได้ในลักษณะประจำเดือน ( แม้จะมีข้อตกลงการแบ่งรายได้ และประกันรายได้ขั้นต่ำของแพทย์ดังกล่าวก็ตาม )  โดยได้รับค่าตอบแทนที่แน่นอน เป็นเงินเดือนหรือค่าจ้าง ค่าตอบแทนที่ได้รับ ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา  40 ( 1 )  ( หนังสือกรมสรรพากร ที่ กค 0802/14899 ลงวันที่ 25 สิงหาคม 2537 )
2. รายได้พิเศษจากสถานพยาบาลที่ตนทำงานอยู่  เช่น เงินค่าล่วงเวลา หรือ ค่าตอบแทนพิเศษ ประเมินตามมาตรา  40 ( 1 )
3. ถ้าไปทำงานเป็นครั้งคราวในสถานพยาบาลอีกแห่งหนึ่ง โดยได้รับค่าตอบแทนจำนวนแน่นอนในแต่ละเดือน  ไม่ว่าหน้าที่หรือตำแหน่งงาน หรืองานที่รับทำให้นั้น จะเป็นประจำหรือชั่วคราว ค่าตอบแทนที่ได้รับ ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา  40 ( 2 )  (หนังสือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/03786 ลว 27 มีนาคม 2541 )
4. ถ้าทำสัญญากับสถานพยาบาลที่ทำงานอยู่ เพื่อประกอบโรคศิลปะนอกเวลาปกติ และมีข้อตกลงแบ่งเงินที่ได้รับจากผู้ป่วยให้แก่สถานพยาบาลเป็นลายลักษณ์อักษ ร ซึ่งเป็นรายได้ที่ได้รับจากคนไข้ที่แพทย์รับเข้ามารักษาใน รพ. มิใช่เงินที่ รพ.จ่ายให้เป็นเงินเดือน หรือ ค่าจ้างแก่แพทย์  เช่น ถ้าไม่มีผู้ป่วยก็ไม่มีรายได้เพิ่ม  ผู้ป่วยแต่ละรายได้ค่าตอบแทนไม่คงที่ ค่าตอบแทนที่ได้รับ ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ( 6 )  ( ฎีกาที่ 4923/2533)
5. ผู้ประกอบโรคศิลปะ ทั้งที่ทำงานและมิได้ทำงานในสถานพยาบาลของรัฐหรือเอกชน แต่ได้ประกอบโรคศิลปะในสถานพยาบาลอีกแห่งหนึ่งเป็นครั้งคราว  ค่าตอบแทนที่ได้รับ ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ( 6 )
6. ถ้ามีเงินได้จากการเปิดสถานพยาบาลเป็นของตนเอง เฉพาะที่ไม่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน ค่าตอบแทนที่ได้รับถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ( 6 )

สรุป
ถ้าประกอบอาชีพแพทย์ประจำโรงพยาบาลรัฐหรือเอกชน โดยได้รับค่าตอบแทนในลักษณะ การจ้างแรงงาน ในฐานะพนักงานประจำ ทั้งเงินเดือน หรือเงินพิเศษ ให้ประเมินตามมาตรา  40 ( 1 )  
ถ้าเป็นแพทย์พิเศษใน รพ.เอกชน หากมีข้อตกลงรับค่าตอบแทนขั้นต่ำเป็นรายเดือน หรือรายอื่นใดก็ตาม และจ่ายเพิ่มพิเศษโดยไม่ผูกพันเป็นแพทย์ประจำที่ต้องหักเงินสมทบกองทุนประกั นสังคม ให้ประเมินตามมาตรา 40 ( 2 )  
ถ้าเปิดคลินิกส่วนตัว หรือทำข้อตกลงกับ รพ.เอกชนเพื่อรักษาผู้ป่วยเป็นการส่วนตัวนอกเวลาปกติโดยมีข้อตกลงแบ่งเงินที ่ได้รับจากผู้ป่วยให้แก่สถานพยาบาลเป็นลายลักษณ์อักษร หรือรักษาผู้ป่วยที่นำมารักษาในสถานพยาบาลอีกแห่งหนึ่งเป็นครั้งคราว ให้ประเมินตามมาตรา 40 ( 6 )  

อ้างอิงจาก http://www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl?board=doctorroom;action=display;num=1329207530

0 comments:

Post a Comment

Popular Posts