Monday, November 19, 2012

ลดหย่อนภาษีจากอะไรได้บ้าง

           เพื่อน ๆ ที่ได้รายรับหลักเป็นเงินเดือน ย่อมต้องคุ้นเคยกับการที่ต้องเตรียมยื่นภาษี ภงด. 90 และ 91 กันเป็นอย่างดี บางครั้งอาจจะไม่ค่อยได้ทำความเข้าใจการคิดค่าภาษี และนำเอาภาระนี้มอบให้กับทางฝ่ายบัญชี หรือฝ่ายทรัพยากรบุคคลของบริษัทฯ เป็นผู้ดูแล เพื่อน ๆ ทราบไหมว่า การที่เราได้มาทำความรู้จักวิธีการคำนวณ และการวางแผนภาษี จะทำให้เราบริหารการเงินเราได้อย่างฉลาด และทำให้เราไม่เสียประโยชน์จากรายได้ที่นำมาชำระค่าภาษี อีกทั้งบางครั้ง เพื่อน ๆ อาจจะสามารถได้เงินภาษีคืนไปทำการซื้อของก้อนใหญ่เป็นรางวัลการทำงานของเราได้จากการมาใส่ใจดูแลเรื่องภาษีของเรา เช่น ถ้าเราได้เงินคืนมาจากสรรพากรซัก 50,000 บาท โดยการหักลดหย่อนภาษี เราก็สามารถนำเงินก้อนนี้ไปทำประโยชน์ได้เพิ่ม จะซื้อกองทุนรวม จะไปดาวน์รถคันใหม่ หรือจะเอาเก็บเป็นเงินเก็บได้อีก ถ้าได้มารวม 5 ปี ก็ประหยัดเงินเราได้ตั้ง 250,000 บาท 10 ปี ก็เป็นเงินก้อนใหญ่ 500,000 บาท น่าทึ่งไหมล่ะ และเป็นเรื่องที่ทุกท่านทำเองได้จริง ๆ จากการวางแผนภาษีเงินได้ให้ถูกต้อง

เพราะ “ภาษี” เป็นค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนประเภทหนึ่งของคนที่อยู่ในวัยทำงาน การวางแผนอย่างฉลาดในการบริหารจัดการ สามารถแปลงค่าใช้จ่ายภาษีให้เป็นทรัพย์สินที่ให้ดอกผลงอกเงยได้ ทำให้เราเดินทางใกล้ และไปสู่เป้าหมายทางการเงิน อีกทั้งยังสามารถใช้สิทธิประโยชน์ที่รัฐมอบให้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การได้รับยกเว้นภาษี การใช้สิทธิขอลดหย่อนภาษี การขอใช้สิทธิเครดิตภาษีคืน เป็นต้น

ประโยชน์ของการวางแผนการด้านภาษี มีอยู่หลายประการ

ลดภาระภาษีที่ต้องจ่าย โดยชำระภาษีเท่าที่จำเป็นตามกฎหมายกำหนด
ลดความเสี่ยงเรื่องการกระทำผิดกฎหมายภาษี ที่อาจทำให้ท่านต้องเสียเบี้ยปรับเพิ่ม
ลดความกังวลเรื่องการถูกตรวจสอบเอกสารภาษีย้อนหลัง
ที่สำคัญ เราสามารถขอภาษีที่เสียเกินไปคืนกลับมาได้อย่างมั่นใจ
ในการภาษีเพื่อช่วยสร้างความมั่นคงทางการเงิน เราสามารถดำเนินการได้ 3 ขั้นตอนดังนี้
  1. ศึกษาและเริ่มวางแผนภาษีตั้งแต่ต้นปี โดยท่านควรหมั่นติดตามข่าวสารด้านสิทธิประโยชน์ทางภาษีอย่างสม่ำเสมอ ดูแลจัดเก็บเอกสารเพื่อการลดหย่อนภาษีอย่างมีระเบียบ และในระหว่างปี ก็หมั่นปรับปรุงและประเมินแผนภาษีที่ทำให้เป็นแผนปัจจุบันเสมอ เช่น ถ้ารายได้ท่านมากขึ้นจาก โบนัสพิเศษ ก็นำมานับเป็นรายได้รวมทั้งปี เพื่อทำการวางแผนการลดหย่อนภาษีให้ได้อย่างเต็มที่ หรือบางท่านที่เกิดถูกวิกฤติการเลิกจ้างงาน ก็ต้องเตรียมพร้อมเสมอว่า ควรจะต้องเตรียมการเพื่อทำให้ได้รับเอกสารจากทางนายจ้างเพื่อนำมาแนบการยื่นภาษีเพื่อทำการยกเว้นรายรับพิเศษนี้ จากการต้องนำมาคำนวณภาษี
  2. รู้แหล่งที่มาของเงินได้ตัวเอง ว่ามีเงินได้มาจากที่ใดบ้างที่ถือเป็นเงินได้พึงประเมินที่ต้องนำมาคำนวณภาษี โดยปกติ รายได้ของมนุษย์เงินเดือน มักจะมาจากเงินเดือน โบนัส ค่าจ้างจากตำแหน่งหน้าที่ นอกเหนือจากนั้นอาจมาจากรายได้แหล่งอื่น ๆ เช่น รายได้จากการลงทุนในรูปแบบดอกเบี้ยเงินฝาก เงินปันผล กำไรจากการขายหลักทรัพย์ แต่ละประเภทนี้ กฎหมายกำหนดให้สิทธิประโยชน์และรูปแบบในการได้รับยกเว้นภาษีหรือการหักค่าใช้จ่าย เพื่อประเมินเป็นเงินได้ที่ต้องนำมาเสียภาษีแตกต่างกัน
  3. รู้จักกันค่าใช้จ่ายหรือค่าลดหย่อนที่สามารถนำมาหักจากเงินได้ที่ต้องเสียภาษี เช่น ค่าลดหย่อนเพื่อดูแลบุตร บิดา มารดา และที่สำคัญก็คือเงินได้พึงประเมินในส่วนที่เกี่ยวกับการออมและการลงทุน เพราะเป็นการช่วยเพิ่มความมั่นคงทางการเงิน เป็นการเพิ่มเงินออมไว้ใช้ในยามเกษียณ ทำให้มีชีวิตที่มีความสุขเพราะมีเงินเก็บหลังเกษียณอายุไว้ใช้ ทำให้มีชีวิตสุขสบาย ไม่ลำบากในอนาคต

การวางแผนภาษีโดยการลงทุน

โดยทั่วไป รัฐบาลจะใช้มาตรการทางภาษีเป้นเครื่องมือในการส่งเสริม หรือกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อส่งเสริมการออมในภาคประชาชน การระดมเงินทุนภายในประเทศ การสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมการเป็นเจ้าของธุรกิจและอุตสาหกรรม เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนตื่นตัว เช่นการส่งเสริมการลงทุนผ่านกองทุนรวมหุ้น (LTF) หรือกองทุนเพื่อการเกษ๊ยณอายุ (RMF)
ด้วยเหตุนี้ รัฐจึงมอบสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่หลากหลายแก่ผู้มีเงินออม และสนใจลงทุน ผ่านมาตรการการยกเว้นภาษี การลดหย่อนภาษีในหลากหลายวิธีการ

รายได้ที่ได้รับการยกเว้นไม่เสียภาษี

  1. ดอกเบี้ยพันธบัตรออมทรัพย์ของรัฐบาลรุ่นที่กำหนด
  2. ดอกเบี้ยจากการฝากออมทรัพย์พิเศษแบบปลอดภาษี
  3. ดอกเบี้ยเงินฝากสหกรณ์ประเภทออมทรัพย์
  4. ดอกเบี้ยและรางวัลจากสลากออมสิน หรือสลาก ธกส. ซึ่งรัฐยกเว้นให้เพื่อส่งเสริมการออมในภาคประชาชน ผลตอบแทนที่ได้รับจึงเต็มเม็ดเต็มหน่วยและมีความเสี่ยงต่ำ
  5. กำไรจากการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ (ยกเว้นหุ้นกู้และพันธบัตร)
  6. กำไรจากการขายตราสารอนุพันธ์
  7. กำไรจากการขายหน่วยลงทุนกองทุนรวม เนื่องจากรัฐต้องการส่งเสริมการลงทุน เปิดโอกาสให้ประขาชนได้มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกิจการ ส่งเสริมให้ประชาขนได้มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกิจการขนาดใหญ่ และส่งเสริมให้กิจการมีแหล่งระดมเงินทุนต้นทุนต่ำ ช่วยให้เกิดการจ้างงาน เพิ่มความมั่นคงทางเศรษฐกิจ

การออมและการลงทุนที่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษี ได้แก่

  1. ประกันชีวิต สามารถนำค่าเบี้ยประกันชีวิตมาลดหย่อนได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท
    • ต้องเป็นโครงการที่มีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 10 ปี
    • ผู้ที่เริ่มสัญญาตั้งแต่ปี 2552 สามารถนำค่าเบี้ยประกันมาลดหย่อนภาษีได้เฉพาะเบี้ยหลักเท่านั้น
    ในการทำความคุ้มครองชีวิตนี้เป็นการทำประโยชน์ให้กับผู้เอาประกันถึงหลายประการ
    • คุ้มครองชีวิต
    • คุ้มครองรายได้
    • เป็นแผนการออมระยะยาว เพื่อการเกษียณอายุ ไม่ต้องพึ่งลูกหลานยามชรา
    • เป็นการเก็บเงินออมอย่างมีวินัย เพราะเป็นการเก็บออมระยะยาว
    • ผลตอบแทนไม่มีวันขาดทุนเพราะเป็นการวางแผนให้ผู้ออมเงินว่าจะได้รับผลตอบแทนในอนาคตเป็นจำนวนเงินเท่าไหร่
  2. กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF หรือ Retirement Mutual Fund) และ กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF หรือ Long Term Equity Fund) มีเงื่อนไขที่แตกต่างกันดังนี้
    • ผู้ลงทุนใน RMF จะสามารถนำเงินลงทุนนี้ไปลดหย่อนภาษีจำนวนไม่เกิน 15% ของรายได้ โดยเมื่อรวมกับเงินสะสมของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการแล้ว ต้องไมเกิน 500.000 บาท เช่น ถ้ามีเงินได้รวมทั้งปีอยู่ 1.2 ล้านบาท แต่ทางบริษัทมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือที่เรียกกันว่า provident fund ทั้งปี อยู่ที่ 200,000 บาท ส่วนที่สามารถลงทุนใน RMF คือ 15% ของ 1 ล้านบาทคือ 150,000 บาท
    • ผู้ที่ลงทุนใน LTF จะสามารถนำเงินลงทุนนี้ไปหักลดหย่อนภาษีจำนวนไม่เกิน 15% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
    เหตุผลที่ทางรัฐให้สิทธิลดหย่อนภาษีเนื่องจาก
    • รัฐมีวัตถุประสงค์ต้องการให้ประชาชนเก็บออมและรู้จักการลงทุนในระยะยาว
    • มีแรงจูงใจให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีควบคู่กับการได้รับผลตอบแทนการลงทุน
    แต่อย่าลืมว่า การลงทุนทุกประเภทมีความเสี่ยง เราจึงต้องศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุนให้ดี เพราะถ้าเราคิดแต่เพียงได้ผลประโยชน์การลดหย่อนด้านภาษีอย่างเดียวแล้วลงทุนโดยไม่ศึกษา เราก็อาจจะขาดทุนได้ และบางครั้งอาจจะขาดทุนกว่าผลประโยชน์ที่ได้จากการยกเว้นภาษีอีก
  3. เงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) สามารถหักลดหย่อนจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
  4. ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมซื้อที่อยู่อาศัย หักลดหย่อนได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท
  5. การบริจาคเพื่อการกุศล สามารถนำมาลดหย่อนได้ตามจริง แต่ถ้าเป็นการบริจาคเพื่อการสนับสนุนการศึกษา หักลดหย่อนได้ 2 เท่า เงินสนับสนุนการกีฬา สามารถลดหย่อนได้ 1.5 เท่า โดยใช้ใบอนุโมทนาหรือใบเสร็จรับเงินที่ระบุว่าใช้ลดหย่อนภาษีได้เป็นหลักฐานแนบกับการยื่นแบบ
  6. เครดิตภาษีจากเงินปันผลที่ได้รับจากการลงทุนในกิจการต่าง ๆ โดยทั่วไป รายได้จากเงินปันผลของเราจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 10% เราสามารถเลือกเสียภาษีเงินได้ เท่ากับจำนวนภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย โดยไม่ต้องนำเงินปันผลมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีก็ได้ แต่หากเราต้องการขอเครดิตภาษีเงินปันผล เราต้องนำเงินปันผลและเครดิตภาษีเงินปันผลมารวมคำนวณเป็นเงินได้พึงประเมินด้วย มีขั้นตอนที่ต้องคำนึงถึงคือ
    • คำนวณจำนวนเงินเครดิตภาษีเงินปันผลที่จะได้รับ
    • นำเอาเงินปันผลและเครดิตภาษีไปรวมคำนวณเป็นรายได้พึงประเมินด้วย
    • หลังจากคำนวณรายได้ที่หักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนต่าง ๆ ก็จะได้รายได้สุทธิที่จะนำไปคำนวณหาภาษีที่ต้องชำระตามอัตราก้าวหน้า
    • เมื่อทราบตัวเลขภาษีที่ต้องชำระตามอัตราก้าวหน้าแล้ว ก็นำเครดิตภาษีเงินปันผลและภาษีหัก ณ ที่จ่ายของเงินปันผล (10% ของเงินปันผล) มาหักออกจากภาษีที่ต้องชำระตามอัตราก้าวหน้า
        สรุปสิทธิประโยชน์ทางภาษี

                            รายการ
                         สิทธิประโยชน์
  • ดอกเบี้ยพันธบัตรออมทรัพย์ของรัฐบาลรุ่นที่กำหนด
  • ดอกเบี้ยจากากรฝากออมทรัพย์พิเศษแบบปลอดภาษี
  • ดอกเบี้ยเงินฝากสหกรณ์ประเภทออมทรัพย์
  • ดอกเบี้ยและรางวัลจากเงินฝากสลากออมสิน/สลาก ธกส.
  • ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ที่ไม่เกิน 20,000 บาท
ได้รับการยกเว้นภาษี
  • กำไรจากการขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ (ไม่รวมหุ้นกู้ และพันธบัตร)
  • กำไรจากการขายตราสารอนุพันธ์ ในตลาดอนุพันธ์กำไรจาก
  • การขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม
ได้รับการยกเว้นภาษี
               ประกันชีวิต
หักลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000 บาท
การลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual   Fund : RMF)
หักลดหย่อนได้ไม่เกิน 15% ของเงินได้ โดยเมื่อรวม  กับเงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแล้วไม่เกิน 500,000 บาท
กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (Long Term Equity Fund : LTF)
หักลดหย่อนได้ไม่เกิน 15% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
เงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
หักลดหย่อนได้ไม่เกิน 500,000 บาท
ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมซื้อที่อยู่อาศัย
หักลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000 บาท
เงินปันผลจากกิจการ
ได้รับสิทธิขอเครดิตภาษ๊


เปรียบเทียบการเสียภาษี ก่อน และหลังการวางแผนภาษี

รายการก่อนวางแผนภาษีหลังวางแผนภาษี
เงินได้ (เงินเดือน โบนัส และเงินได้อื่นจากตำแหน่งที่ทำ)2,000,0002,000,000
ดอกเบี้ยรับจากพันธบัตรรัฐบาลรุ่นปลอดภาษีจำนวน 14,250 บาทได้รับการยกเว้นภาษีได้รับการยกเว้นภาษี
เงินปันผลไม่นำมารวมคำนวณ ได้เสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายไว้แล้ว 10%21,000
เครดิตภาษีเงินปันผล 9,000 บาท-9,000
รวมเงินได้ (ก)2,000,0002,030,000
หัก ค่าใช้จ่าย 40% แต่ไม่เกิน 60,000 บาท60,00060,000
หัก ค่าลดหย่อนส่วนตัว บิดา มารดา90,00090,000
หัก เงินสมทบสำหรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ตามจริงไม่เกิน 500,000 บาท)200,000200,000
หัก เบี้ยประกันชีวิต (ตามจริง ไม่เกิน 100,000 บาท)100,000
หัก ค่าดอกเบี้ยเงินกู้ซื้อบ้าน (ตามจริง ไม่เกิน 100,000 บาท)100,000
หัก ลงทุนซื้อหน่วยลงทุนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ๖(RMF) ไม่เกิน 15% ของเงินได้ เมื่อรวมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแล้วไม่เกิน 500,000 บาท300,000
หัก ลงทุนซื้อหน่วยลงทุนหุ้นระยะยาว (LTF) ไม่เกิน 15% ของเงินได้และไม่เกิน 500,000 บาท304,050 (15% x 2,030,000)
หัก เงินบริจาคให้กับสถานศึกษาที่กระทรวงศึกษาฯ กำหนด (หักได้ 2 เท่า ของเงินบริจาค แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและลดหย่อน50,000(ยอดบริจาคจริง 25,000 บาท)
รวมค่าใช้จ่าย และค่าหักลดหย่อน (ข)350,0001,204,500
เงินได้สุทธิ (ก-ข)1,650,000825,500
ภาษีที่ต้องชำระตามอัตราก้าวหน้า (ดูจากอัตราคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภงด. 90, 91330,000100,100
หักภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เงินปันผล2,100
หัก เครดิตภาษีเงินปันผล2,000
ภาษีเงินได้ ที่ต้องเสียให้กับกรมสรรพากร330,00089,000
หลังจากวางแผนภาษี ประหยัดภาษีได้ 330,000 – 89,000 = 241,000 บาท
อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
เงินได้สุทธิ (บาท)อัตราภาษี ร้อยละภาษีสูงสุดแต่ละขั้นภาษีที่ต้องชำระตามอัตราก้าวหน้า
ก่อนวางแผนภาษี (เงินได้สุทธิ = 1,650,000)หลังวางแผนภาษี (เงินได้สุทธิ = 805,500)
0 – 150,0000000
150,001 – 500,0001035,00035,00035,000
1,000,001 – 4,000,00030900,000650,000×30% = 195,000
4,000,001 ขึ้นไป37
รวม330,000100,100

จากตัวอย่างข้างต้น ถ้าคุณมีการวางแผนภาษีที่ดีแล้ว เราสามารถประหยัดภาษีได้ถึง 241,000 บาท

ถ้าเรานำเงินที่ประหยัดจากการลดหย่อนภาษี 241,000 บาทนี้ ไปลงทุนให้ได้รับผลตอบแทน 5% ต่อปี เป็นเวลา 1 ปี คุณจะได้รับผลตอบแทนเป็นเงิน 12,050 บาท เมื่อรวมกับเงินต้นแล้ว จะเพิ่มเป็น 253,050 บาท ถ้าประหยัดภาษีไปทุก ๆ ปี สมมติเป็นเวลา 10 ปี เงินจำนวนนี้ก็จะเพิ่มค่าไปประมาณ 430,000 บาท การประหยัดภาษีในรูปลักษณะเช่นนี้ เป็นการสะสมเงินออมไว้ใช้ในยามเกษียณได้อย่างสบาย ๆ

0 comments:

Post a Comment

Popular Posts