Monday, October 8, 2012

LTF เมื่อไหร่ขายได้


ต้องลงทุนนานแค่ไหนถึงเอาเงินออกมาได้?
- ต้องถือหน่วยลงทุนให้ครบ 5 ปีปฏิทิน (ไม่ว่าจะซื้อหรือขายวันไหนในปีนั้น จะนับปีนั้นเป็น 1 ปี)
ยกตัวอย่างเช่น
ถ้าเราซื้อ LTF วันที่ 25 ธันวาคม 2554 พอขึ้นปีใหม่ 1 มกราคม 2555 กองทุนจะนับว่าเราซื้อกองทุนมาครบ 1 ปี และกำลังเริ่มต้นลงทุนเป็นปีที่ 2
ดังนั้นเราจะสามารถขายได้เร็วที่สุดในวันที่ 1 มกราคม 2558

Buy@2554 2555 2556 2557 Sell@2558

สรุป ระยะเวลาสั้นสุดที่ลงทุนใน LTF = 3 ปี 2 วัน
ระยะเวลานานสุดที่ลงทุนใน LTF = 5 ปี

ปล. ถ้าหุ้นติดลบอยู่ เราจะยังไม่ขายก็ได้นะครับ ไม่มีใครบังคับเราได้

ลงทุนได้สูงสุดกี่บาท?
- เงินลงทุนใน LTF สามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 15% ของรายได้ในแต่ละปีแต่ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
ยกตัวอย่างเช่น
1. ปีนี้ นาย ก มีรายได้รวม 1,000,000 บาท และเสียภาษี 20%
นาย ก จะซื้อ LTF ได้สูงสุด 150,000 บาท
ซึ่งจะประหยัดภาษีถึง 150,000 x 20% = 30,000 บาท
2. ปีนี้ นาย ข มีรายได้รวม 10,000,000 บาท และเสียภาษี 30%
นาย ข จะซื้อ LTF ได้สูงสุด 500,000 บาท (เพราะ 15% ของรายได้เกิน 500,000 บาท)
ซึ่งจะประหยัดภาษีถึง 500,000 x 30% = 150,000 บาท

อยากประหยัดภาษี x บาท ต้องซื้อกองทุนกี่บาท?
- นำเงินภาษีที่อยากประหยัดมาหารด้วยเปอร์เซ็นต์ฐานภาษีของคุณ
ยกตัวอย่างเช่น
ถ้าปีนี้ นาย ก เสียภาษี 20% และเขาอยากประหยัดภาษี 10,000 บาท เขาจะต้องซื้อ LTF ปีนี้ ด้วยเงิน 10,000/20% = 50,000 บาท

ซื้อ LTF ยังไงให้คุ้มที่สุด?
สมมุติว่าคุณมีรายได้ 550,000 บาทต่อปี

จากตารางภาษี หมายความว่า
- เงิน 150,000 บาทแรกไม่ต้องเสียภาษี
- เงิน 350,000 บาทถัดมาเสียภาษี 10% คิดเป็นเงิน 35,000 บาท
- เงิน 50,000 บาทสุดท้ายต้องเสียภาษี 20% คิดเป็นเงิน 10,000 บาท

ถึงแม้ว่าคุณจะมีสิทธิ์ซื้อ LTF ได้ถึง 82,500 บาท (15% ของ 550,000 บาท) ซึ่งจะประหยัดภาษีได้ (50,000 x 20%) + (32,500 x 10%) = 13,250 บาท
หากคุณอยากจะประหยัดภาษีให้ได้คุ้มที่สุด คุณควรจะซื้อ LTF เพียง 50,000 บาท (พอดีกับเงินส่วนที่เสียภาษี 20% พอดี) ซึ่งคุณจะประหยัดภาษีได้ถึง 10,000 บาทเลยทีเดียว

ฟันธงกันไปเลย ควรซื้อเท่าไหร่ เมื่อไหร่ดี?
ผมจะตอบคำถามของคุณด้วยการถามพวกคุณกลับดังนี้ละกันครับ

CASE 1 หากคุณเสียภาษีในเรท 10% และต้องการซื้อ LTF

ถ้าคุณลงทุน LTF มา 3 ปีโดยที่ไม่ขาดทุนหรือกำไรเลยซักบาท ผลจากตารางด้านบนพบว่าการฝากดอกเบี้ยประจำทบต้น 3 ปี ก็จะให้ผลเช่นเดียวกัน ดังนั้นในกรณีแรกนี้ คุณจำเป็นต้องมานั่งลุ้นครับว่ากองทุน LTF ของคุณจะทำกำไรได้มั้ยใน 3 ปีข้างหน้านับจากนี้ เป็นผมจะเอาเงินไปฝากประจำยังดีกว่าครับ (พันธบัตร กับหุ้นปันผล ยิ่งดีกว่าหลายเท่าครับ)

CASE 2 หากคุณเสียภาษีในเรท 20% และต้องการซื้อ LTF


ถ้าคุณลงทุน LTF มา 3 ปีโดยที่ไม่ขาดทุนหรือกำไรเลยซักบาท ผลจากตารางด้านบนพบว่า คุณจะได้กำไรมากกว่าการเอาเงินไปฝากประจำถึง 10% ทีเดียวครับ ดังนั้นถ้าคุณเป็นคนที่ไม่ชอบเสี่ยง และชอบฝากประจำเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ผมขอแนะนำให้คุณซื้อได้เลยครับ (ถ้าเสียภาษีสองเรท ควรใช้เงินที่ต้องเสียภาษี 20% ไปซื้อก็พอนะครับ ส่วนที่เสีย 10% ไม่ต้องไปซื้อให้ขาดทุนครับ)

CASE 3 หากคุณเสียภาษีในเรท 30-37% และต้องการซื้อ LTF

ถ้าคุณลงทุน LTF มา 3 ปีโดยที่ไม่ขาดทุนหรือกำไรเลยซักบาท ผลจากตารางด้านบนพบว่า คุณจะได้กำไรมากกว่าการเอาเงินไปซื้อพันธบัตรถึง 14-20%!! (ไม่ธรรมดานะครับ) ดังนั้นถ้าคุณคิดจะเอาเงินไปซื้อพันธบัตร ลองหันมามอง LTF ดูก่อนตัดสินใจซักหน่อยจะดีกว่าครับ

อย่าลืมนะครับว่า ที่ผมร่ายมาซะยาวนี่ ยังไม่รวมกำไรที่จะได้จากราคาที่เพิ่มขึ้นของกองทุนนะครับ
สุดท้ายนี้ หลังจากพวกคุณได้อ่านบทความนี้จบ ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหากในอนาคต คุณมีโอกาสเข้าซื้อกองทุนในราคาถูกๆ (หลังจากตลาดหุ้นตกหนักๆ) มารอคุณอยู่ตรงหน้า อย่ารีรอให้เนิ่นนานเกินไป แต่จงวิเคราะห์ถึงความคุ้มค่าในการลงทุน และจงตัดสินใจลงทุนอย่างเด็ดเดี่ยวครับ

โชคดีในการลงทุนทุกท่านครับ
อ้างอิงจาก http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=hopezz&month=26-12-2011&group=6&gblog=2


ตัวอย่างด้านบนคำนวนจากกรณีดอกเงินฝาก 3.5 แต่ปัจจุบันดอกเบี้ยน้อยกว่า 3.5 ดังนั้นหากลองคำนวนพบว่าให้ซื้อ LFT เต็มโควต้าได้เลย




 ตารางเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยธนาคาร
 
 อัตราดอกเบี้ยเงินฝากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้
ออมทรัพย์ประจำ 3 เดือนประจำ 6 เดือนประจำ 12 เดือนประจำ 24 เดือนประจำ 36 เดือนMRRMORMLR
ธ. กรุงศรีอยุธยา จก. 0.7500 2.0500 2.3500 2.7500 3.2000 3.2500 8.4500 7.7500 7.5000 
เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 55 1 ต.ค. 55 1 ต.ค. 55 1 ต.ค. 55 1 ต.ค. 55 1 ต.ค. 55 2 เม.ย. 55 2 เม.ย. 55 2 เม.ย. 55 
ธ. กรุงเทพ จก. 0.7500 1.8750 2.1250 2.5000 2.7500 3.0000 7.7500 7.2500 7.0000 
เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 22 ต.ค. 55 22 ต.ค. 55 22 ต.ค. 55 22 ต.ค. 55 22 ต.ค. 55 22 ต.ค. 55 22 ต.ค. 55 22 ต.ค. 55 22 ต.ค. 55 
ธ. ออมสิน 1.0000 2.2500 2.5000 2.9000   8.0000 7.5000 7.2500 
เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 15 ก.ย. 54 15 ก.ย. 54 15 ก.ย. 54 15 ก.ย. 54   15 ก.ย. 54 15 ก.ย. 54 15 ก.ย. 54 
ธ. กสิกรไทย จก. 0.7500 1.8000 2.2500 2.6500 3.0000 3.2000 8.1000 7.4800 7.1300 
เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 19 ต.ค. 55 19 ต.ค. 55 19 ต.ค. 55 19 ต.ค. 55 19 ต.ค. 55 19 ต.ค. 55 22 ก.พ. 55 22 ก.พ. 55 22 ก.พ. 55 
ธ. กรุงไทย จก. 0.7500 2.0000 2.6000 2.7500 3.1250 3.2500 8.0000 7.3750 7.1250 
เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 22 ต.ค. 55 22 ต.ค. 55 22 ต.ค. 55 22 ต.ค. 55 22 ต.ค. 55 17 ต.ค. 55 30 ม.ค. 55 30 ม.ค. 55 30 ม.ค. 55 
ธ. ไทยพาณิชย์ จก. 0.7500 1.7500 2.1500 2.5000 2.7500 2.7500 8.1000 7.4250 7.0000 
เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 22 ต.ค. 55 22 ต.ค. 55 22 ต.ค. 55 22 ต.ค. 55 22 ต.ค. 55 22 ต.ค. 55 22 ต.ค. 55 22 ต.ค. 55 22 ต.ค. 55 
ธ. ทหารไทย จก. 0.1250 1.7500 2.0000 2.2500 2.7500 3.0000 8.2750 7.9000 7.5000 
เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 10 ต.ค. 55 10 ต.ค. 55 10 ต.ค. 55 10 ต.ค. 55 10 ต.ค. 55 10 ต.ค. 55 27 ก.ย. 55 27 ก.ย. 55 27 ก.ย. 55 
ธ. ยูโอบี จก. 0.6500 1.9500 2.2500 2.5000 2.7500 2.7500 8.5000 8.2500 7.7500 
เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 17 ก.ย. 55 17 ก.ย. 55 17 ก.ย. 55 17 ก.ย. 55 17 ก.ย. 55 17 ก.ย. 55 23 ก.ค. 55 23 ก.ค. 55 23 ก.ค. 55 
 
 
หมายเหตุ
  1. MRR หมายถึง อัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR)
  2. MOR หมายถึง อัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินเบิกเกินบัญชี (MOR)
  3. MLR หมายถึง อัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา (MLR)
  4. อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประเภทออมทรัพย์ข้างต้น เป็นอัตราดอกเบี้ยสำหรับบุคคลธรรมดาเท่านั้น
  5. อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำทุกประเภท เป็นอัตราดอกเบี้ยสำหรับวงเงินขั้นต่ำสุดที่แต่ละธนาคารกำหนด หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมโปรดสอบถามไปยังธนาคารโดยตรง
  6. ข้อมูลอัตราดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารข้างต้น เป็นการรวบรวมจากธนาคารต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกและเป็นข้อมูลให้นักลงทุนเท่านั้น สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยไม่มีส่วนรับผิดชอบในความเสียหายหรือค่าใช้จ่ายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นอันเกี่ยวเนื่องกับความผิดพลาดคลาดเคลื่อนของการนำเสนออัตราดอกเบี้ยข้างต้น


อ้างอิงจาก http://www.thaibond.com/bond_info/bankrate.aspx

นอกจากนี้สามารถดูอัตราดอกเบี้ยได้จาก http://www.bot.or.th/thai/statistics/financialmarkets/interestrate/_layouts/application/interest_rate/IN_Rate.aspx#

1 comment:

  1. ขอบคุณค่ะ

    มาอ่านเพื่อแน่ในอีกที พอดีปีหน้าจะครบขายแล้วอิอิ ซื้ิอ 2553 ขาย2557 ถูกต้องใช่มั๊ยคะ

    ReplyDelete

Popular Posts