Sunday, November 18, 2012

แรงจูงใจในการวางแผนการลงทุน


              หลังจากเหน็ดเหนื่อยในการทำงานประจำ ที่เดียวนี้ต้องทำงานถึงวันละสิบสองชั่วโมงต่อวัน ประกอบกับรูปแบบงานเป็น แบบนั่งโต๊ะ ไม่ค่อยได้ออกแรงมากนัก ส่งผลทำให้หนึ่งปีที่ผ่านมาน้ำหนักเพิ่มขึ้นถึงยี่สิบกิโลกรัม ร่วมกับมีอาการกำเริบของโรคไซนัสอักเสบเรื้อรังจนถึงขั้นต้องทำการผ่าตัด ทำให้พักหลังเริ่มมองว่าการมีชีวิตทำงานประจำไปเรื่อยๆคงไม่ดีแน่ หากยังไม่ได้มีเวลาออกกำลังกาย หากอายุเพิ่มมากขึ้นโรคภัยไข้เจ็บอื่นๆคงจะเข้ามาสวัสดีอยู่เรื่อยไป

             แล้วเราจะทำยังไงละไม่ทำงานก็ไม่มีกิน แล้วเราจะอยู่ได้โดยไม่ต้องทำงานได้ไหม พักหลังๆเริ่มคิดแบบนี้อยู่เรื่อยไป จนวันหนึ่งได้เจอกับคำว่า อิสรภาพทางด้านการเงิน (financial freedom) ซึ่งหลายๆคนให้ความหมายแตกต่างกันไป แต่สำหรับผมแล้วแปลง่ายๆๆ ภาษาชาวบ้าน มีตังให้กินให้ใช้โดยไม่เดือดร้อนโดยไม่ต้องพึ่งรายได้จากการทำงาน (โอ้ นี่แหละชีวิตในฝันที่อยากได้ )

            แล้วจะทำให้มีอิสรภาพทางด้านการเงินได้ยังไงละ ชีวิตตอนนี้ก็ลูกจ้างนี่ ที่บ้านก็ไม่ได้ร่ำรวยมาจากไหน แถมค่อนข้างยากจนด้วยสิ หลังจากนั้นก็เริ่มหาความรู้เพิ่มเติมหลังจากได้อ่านมาจาก set.or.thเขาแนะนำให้คำนวนดูว่าเรามีโอกาสมีอิสรภาพทางการเงินเยอะแค่ไหน เขาแนะนำว่าก่อนจะรวยก็ต้องอยู่รอดให้ได้ก่อนแล้วมันคิดกันยังไง

อัตราส่วนความอยู่รอด = รายได้จากการทำงาน + รายได้จากสินทรัพย์
                        รายจ่าย

        ลองคำนวนของตัวเองคร่าวๆๆ รายได้จากงานประจำหลังหักภาษีประมาณ 700,000 บาทต่อปี ผ่อนรถเดือนละ 30,000 บาทและไม่มีรายได้จากสินทรัพท์อื่นเลย ส่วนรายจ่ายส่วนตัวเลี้ยงดูบิดามารดาประมาณ 380,000 บาทต่อปี

อัตราส่วนความอยู่รอด =700,000+0
680,000

                                      =    1.03
       หากค่าดังกล่าวมากกว่าหนึ่งแสดงว่าอยู่รอดได้โดยหากค่าสูงกว่าหนึ่งมากๆๆจะยิ่งดีซึ่งชนชั้นกลางทั่วไปมักเกินหนึ่งไม่มาก หลังจากพบว่าตัวเองอยู่รอดแล้วจะมีตัววัดได้ไหมว่าเมื่อไหร่จะร่ำรวยโดยเราจะใช้อัตราส่วนความมั่งคั่ง

อัตราส่วนความมั่งคั่ง  = รายได้จากสินทรัพย์
          รายจ่าย

       หลังจากสำรวจตัวเองพบว่าไม่มีรายได้จากสินทรัพย์ใดเลยดังนั้นอัตราส่วนความมั่งคั่งของผมเท่ากับศูนย์ซึ่งหมายความว่ายังไม่มีอิสรภาพทางด้านการเงินดังที่คาดหวังไว้ซึ่งหากค่าดังกล่าวมากกว่าหนึ่งแสดงถึงว่ามีอิสรภาพทางด้านการเงินแล้ว นอกจากนี้มันยังกระตุ้นให้เราสำนึกได้ว่าหากวันไหนเราไม่ทำงานเราอยู่ไม่รอดแน่เลยดังนั้นจึงได้ตั้งเป้าหมายไว้เพื่อให้มีรายได้จากสินทรัพย์ขึ้นดังนี้
เพิ่มเงินออม ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีเงินออมประมาณปีละสองหมื่นโดยตั้งเป้าหมายจะออมให้ได้สิบเปอร์ของรายได้นั้นคือต้องให้ได้ 60,000 บาทต่อปี

           ตอนนี้อายุสามสิบสามปี เหลืออีกยี่สิบเจ็ดปีจะเกษียนจะเก็บเงินได้เท่ากับ 1,620,000 บาท เงินเท่านี้คงจะไม่พอกินแน่หากฝากประจำ 3 เปอร์เซ็นต่อปีทบดอกไปเรื่อยๆก็คงไม่ชนะเงินเฟ้อที่น่าจะอยู่ที่ประมาณ 5 เปอร์เซนต่อปี ดังนั้นเราควรศึกษาการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนมากกว่า 5 เปอร์เซนต์ต่อปี

          แต่การออมเงินอย่างเดียวไม่ตอบคำถามที่ว่าต้องการมีอิสระภาพทางด้านการเงินโดยส่วนตัวดังเป้าไว้ว่า จะทำให้มีอิสระภาพทางการเงินภายในสิบปี ตอนอายุสี่สิบสี่ปี แสดงว่ามีเวลาเก็บเงินสิบปีได้เงินประมาณ 1,180,780 (คำนวนโดยการใช้ดอกฝากประจำ 3 เปอร์เซ็นต่อปี) และหากลงทุนต่อในปีที่สิบเอ็ดในเงินฝากประจำ ร้อยละสามต่อปี จะได้ดอกปีละ 35,423 บาทต่อปีซึ่งหากตอนนั้นเลิกทำงานแสดงว่ามีรายได้ 2952 บาทต่อปี มันจะพอจ่ายไหมนี่และหากนำมาคำนวนความมั่งคั่ง โดยที่รายจ่ายยังเท่ากับ 680,000 บาทต่อปีจะได้เท่ากับ 0.052 นั้นหมายความว่ายังไม่มีอิสรภาพทางการเงินดังนั้นการออมเงินโดยการฝากประจำอย่างเดียวเป็นเวลาสิบปีด้วยเงินปีละหกหมื่นบาทไม่สามารถทำให้เกิดอิสรภาพทางการเงินได้ และนอกจากนั้นไม่สามารถอัตราเงินเฟ้อได้จึงควรนำเงินออมที่ได้ไปลงทุนอย่างอื่น
        จากการศึกษาพบว่า สิ่งที่สามารถตอบโจทย์เพื่อให้มีอิสรภาพทางการเงินได้ภายในสิบปีอาจได้จากตลาดหุ้น โดยการลงทุนในหุ้นหรือกองทุนที่ให้ผลตอบแทนชนะเงินเฟ้อ

นอกจากนี้เรามีวิธีการคำนวน ว่าเราจะมีเงินเป็นสองเท่าจากเริ่มต้นโดยใช้กฏของเลข 72
 
จำนวนปีที่จะมีเงินเป็น 2 เท่าของเงินต้น =              72
    อัตราดอกเบี้ยต่อปี

         โดยหากลงทุนโดยได้อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7.2 ต่อปี จะใช้เวลาสิบปีที่เงินต้นจะกลายเป็นสองเท่า
โดยหากลงทุนโดยได้อัตราดอกเบี้ยร้อยละ  18 เปอร์เซนต์ต่อปีจะใช้เวลาแค่ 4 ปี ที่เงินต้นจะเพิ่มเป็นสองเท่า ซึ่งในปัจจุบันการลงทุนที่ให้ได้ดอกร้อยละ 18 เปอร์เซนต์ต่อปี ก็คงได้จากการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์อย่างเดียว

          ส่วนตัวตั้งเป้าเอาไว้ว่าอยากได้มีเงิน 12 ล้านบาทภายในเวลาต่อปี หลังจากนั้นให้เงินดังกล่าวได้ผลตอบแทนร้อยละสิบต่อปี คือได้ดอกปีละ 1.2 ล้านบาทต่อปี เฉลี่ยเป็นเดือนละ 120,000 บาท ซึ่งการจำทำดังกล่าวได้ผมคิดว่ามีความจำเป็นที่ต้องเรียนรู้การลงทุนต่อ

           หมายเหตุ ผู้แต่งเขียนบทความนี้ขึ้นมาตามความรู้ความเข้าใจ และเพื่อย้ำเตือนให้ตระหนักถึงเป้าหมาย หากมีข้อผิดพลาดสามารถชี้แนะได้ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ ผู้แต่งหวังว่าบทความนี้ได้มีประโยชน์ต่อผู้อ่านบ้างเพื่อกระตุ้นให้ฉุกคิดถึงความจำเป็นของการออมและการลงทุนเพื่ออนาคต

0 comments:

Post a Comment

Popular Posts